Posted by: pimparnp | April 28, 2008

บทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศ_1

สวมกอดด้านซ้ายบทที่ 12 การพัฒนาระบบสารสนเทศสวมกอดด้านขวา

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

v     การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

v     การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีมีราคาถูกลงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง องค์การต้องการลดต้นทุน และการปรับปรุงคุณภาพการบริการลูกค้า จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำหน้าที่ให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม

v     การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ระบบที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขาดเอกสารอ้างอิง ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก ต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารถสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน องค์การจึงหาวิธีแนวทางใหม่ๆ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ หรือเพื่อขยายตลาดเพิ่มขึ้น ระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ บริหารจัดการหรือเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์การ การพัฒนาระบบจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

      กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางของระบบสารสนเทศที่จะพัฒนา

      บุคลากร (People) ต้องได้รับความร่วมมือ และการทำงานที่ประสานร่วมมือกันอย่างดีจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ รวมทั้งการสนับสนุนจากผู้บริหาร

      วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้สามารถพัฒนาระบบได้ภายในกรอบของเวลาที่กำหนดและตรงกับความต้องการ

      เทคโนโลยี (Technology) มีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะและขอบเขตของระบบ คำนึงถึงความง่ายต่อการใช้งาน ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

      งบประมาณ (Budget) การพัฒนาระบบที่มีการจัดเตรียมงบประมาณอย่างเพียงพอและเหมาะสมจะช่วยให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างต่อเนื่องและราบรื่น

      ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure) เช่น ระบบเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล ระบบการรักษาความปลอดภัย อยู่ในรูปแบบเหมาะสมกับระบบที่จะพัฒนา สนับสนุนอำนวยความสะดวกในการใช้ระบบ

      การบริหารโครงการ (Project Management) ป้องการไม่ให้การพัฒนาระบบเสร็จล่าช้า มีค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณที่กำหนด ช่วยให้มั่นใจได้ว่าระบบที่พัฒนาบรรลุตามความต้องการและเสร็จทันตามกำหนด

ทีมงานพัฒนาระบบ

v     คณะกรรมการ (Steering Committee) มีหน้าที่กำกับดูแล กำหนดทิศทาง จัดลำดับความสำคัญของระบบงาน จัดสินใจและวางแผนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ประกอบด้วย เช่น ผู้บริหารระดับสูง เจ้าของระบบงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับระบบและเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ

v     ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) มีหน้าที่ควบคุมการดำเนินโครงการ กำหนดงานและความสัมพันธ์ของงานมอบหมายต่าง ๆ ให้คำปรึกษา แนะนำ อำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับสมาชิกในทีมงาน บริหารความเปลี่ยนแปลงเพื่อดำเนินโครงการได้อย่างราบรื่น และบรรลุวัตถุประสงค์

v     ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager) เป็นผู้ที่ควรมีความรู้ความเข้าใจระบบงานขององค์การ และรับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาดำเนินการ ประสานงานเกี่ยวกับโครงการ และแผนงานระบบสารสนเทศ มีบทบาทในการอนุมัติให้ทำโครงการ มีความรับผิดชอบในการวางแนวทางวิชาชีพให้กับบุคลากรด้านสารสนเทศ

v     นักวิเคราะห์ (System Analyst) ผู้ที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง
นักวิเคราะห์ระบบควรมีทักษะในด้านต่าง ๆ คือ

      ทักษะด้านเทคนิค มีความรู้ความเข้าใจในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และระบบเครือข่าย

      ทักษะด้านการวิเคราะห์ มีแนวคิดเชิงระบบ กำหนดขอบเขตของระบบที่จะพัฒนา กำหนดส่วนนำเข้า ส่วนประมวลผล และส่วนนำออก ทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมที่ผลต่อการดำเนินงานองค์การ เพื่อสามารถพัฒนาระบบให้สอดคล้องและสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์การ

      ทักษะด้านการบริหารจัดการ อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีม ต้องมีทักษะการบริหารจัดการ บริหารโครงการและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

      ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร สามารถทำงานเป็นทีม ประสานงานและเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับระบบ เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี สามารถนำเสนอข้อมูลในที่ประชุม

v     ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค

      ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) คือ ผู้บริหารฐานข้อมูลที่เรียกว่า DBA ซึ่งจะต้องมีความรู้ในระบบจัดการฐานข้อมูล สามารถออกแบบระบบฐานข้อมูลได้ทั้งในระดับตรรกะและระดับกายภาพ การดูแลการเข้าถึงและใช้งานฐานข้อมูล การบำรุงรักษา และการรักษาความปลอดภัย

      โปรแกรมเมอร์ (Programmer) มีหน้าที่ในการเขียนและทดสอบคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามหน้าที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้ ติดตามการพัฒนาของภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม เลือกใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมกับระบบงานที่พัฒนา

v     ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager) การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ข้อมูล ผู้ใช้ระบบจะเป็นผู้ที่ใช้ระบบในการปฏิบัติงาน เป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้า หรือรับผลลัพธ์จากระบบ ผู้ใช้อาจเป็นผู้ที่ใช้ระบบทางอ้อม เช่น ผู้จัดการ ซึ่งอาจจะไม่ได้ติดต่อกับระบบโดยตรง จะใช้ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ เช่น รายงาน มาใช้ในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ

หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

1.  คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเจ้าของระบบและผู้ใช้ระบบนั้นจำเป็นต้องทำให้เจ้าของระบบและผู้ใช้ระบบเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบให้มากที่สุด เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้พัฒนากับเจ้าของและผู้ใช้ระบบ

2.  เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด จับประเด็นสาเหตุปัญหาให้ได้ แนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอน ดังนี้

      ศึกษา ทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น ค้นหาสาเหตุ จัดลำดับความสำคัญ ผลกระทบที่เกิดจากปัญหา

      รวบรวมและกำหนดความต้องการที่จะแก้ปัญหา

      หาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆวิธี และเลือกวิธีที่ดีที่สุด

      ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก

      สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีที่แก้ปัญหาที่นำมาใช้ ปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพ

3.  กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ  ช่วยลดความยุ่งยากในการพัฒนาระบบได้

4.  กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ  ควรมีการกำหนดมาตรฐานในระหว่างการพัฒนาระบบ รูปแบบข้อมูล การเขียนโปรแกรม การเชื่อมโยงระบบเครือข่าย มาตรฐานของเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ เพื่อให้มีระเบียบในการปฏิบัติ ช่วยให้การบำรุงรักษาระบบเป็นไปด้วยความสะดวก

5.  ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง ที่มีการคาดหวังถึงผลที่จะได้รับจากการลงทุน ควรมีความรอบคอบในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ เลือกวิธีในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด รวมถึงผลประโยชน์หรือความคุ้มค่าในการลงทุน

6.  เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา การพัฒนาระบบอาจมีการทบทวนขอบเขตการทำงานของระบบที่กำลังพัฒนา เนื่องจากมีการประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนใหม่ หรือจำเป็นต้องลดขอบเขตการทำงานลงเมื่อมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ

7.  แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย  การแก้ปัญหาทีละส่วนจะช่วยให้ทีมงานพัฒนาระบบสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เร็วขึ้น ตรวจสอบข้อผิดพลาดสามารถทำอย่างสะดวก กระบวนการแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

8.  ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต การดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องออกแบบระบบเพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตและเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วย

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

                การพัฒนาระบบ (System Development Methodology) กระบวนการพัฒนาระบบมีวงจร (Life Cycle) ในการพัฒนาเปรียบได้เช่นเดียวกับวงจรของการผลิตสินค้า การพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนมีการกำหนดรูปแบบในการพัฒนาระบบอย่างมีแบบแผน วงจรพัฒนาระบบสารสนเทศที่แบ่งออกเป็น 6 ระยะ (Phases) ได้แก่

      การกำหนดและเลือกโครงการ

      การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ

      การวิเคราะห์ระบบ

      การออกแบบระบบ

      การพัฒนาและติดตั้งระบบ

      การบำรุงรักษาระบบ

แนวทางการพัฒนาระบบที่เลือกใช้ ทำให้การพัฒนาระบบมีรูปแบบต่าง ๆ เช่น

การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall Model) การพัฒนาระบบจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อได้ทำขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก

การพัฒนาระบบแบบน้ำตกที่ย้อนกลับขั้นตอนได้ (Adapted Waterfall) เป็นแบบการพัฒนาที่หากดำเนินการในขั้นตอนใดอยู่สามารถย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือเพื่อต้องการความชัดเจน

การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development) การพัฒนาที่มีการทำซ้ำบางขั้นตอน ในขั้นตอนออกแบบและสร้างระบบจนกว่าระบบที่สร้างได้รับการยอมรับ

การพัฒนาระบบในรูปขดลวด (Evolutionary Model SDLC) เป็นการพัฒนาแบบวนรอบเพื่อทำให้การพัฒนาระบบมีความรวดเร็วโดยการพัฒนาระบบเริ่มจากแกนกลาง การพัฒนาจะได้ ระบบรุ่น (Version) แรกออกมา จะปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นที่สอง และดำเนินการแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้รุ่นที่สมบูรณ์ อาศัยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบของการพัฒนา      

 

(มีต่อ)

 


Leave a comment

Categories